ทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ”ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” ปี 2564

ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ ทุนสายอาชีพ เรียนต่อป.ตรี
ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ ปี 2564

งานศึกษาขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ  OECD พบว่าประเทศไทย มีกลุ่มนักเรียนช้างเผือกที่มีฐานะยากจนกลุ่มล่างสุด 25% ของประเทศ แต่สามารถทำคะแนนได้อยู่ในกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด 25% ของประเทศ โดยประเทศไทยมีเด็กช้างเผือกกลุ่มนี้จำนวน 13% ของเด็กในกลุ่มเศรษฐฐานะล่างสุด (bottom 25%) หรือ 6,111 คน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโออีซีดีซึ่งมี 11.3%

ซึ่งหากเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับโอกาสสนับสนุนการเรียนต่อ จะมีแนวโน้มหลุดออกนอกระบบการศึกษา หรือได้รับการศึกษาที่ไม่สามารถแสดงศักยภาพหรือได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ นับเป็นการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของประเทศสอดคล้องกับข้อมูลเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส มีโอกาสศึกษาต่อระดับสูงเพียงร้อยละ 5 (หรือ 8,000 คน) ต่อรุ่นเทียบกับค่าเฉลี่ยของประชากรประเทศที่มีโอกาสถึงร้อยละ 30

เป้าหมายของโครงการทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ 

  1. ส่งเสริมโอกาสทางศึกษาต่อเต็มศักยภาพ ให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้ใกล้จบ ปวส. หรืออนุปริญญาสายอาชีพให้ได้รับโอกาสทางศึกษา และการพัฒนาต่อเต็มศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก

    โดยต้องเป็นเยาวชนที่มีมีผลการเรียนดีเยี่ยม มีความสามารถพิเศษ โดยเฉพาะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี และมีเจตคดีที่ดีต่อสายอาชีพแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสตามเกณฑ์ของ กสศ.

  2. เสริมสร้างสมรรถนะของกำลังคนเพื่อตอบสนองความต้องการสายอาชีพ โดยสาขาที่ส่งเสริมจะเป็นสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการและพัฒนากำลังคนของประเทศ

    โดยฉพาะในสาขาที่เป็นกลุ่ม New Growth Engine (กลุ่ม First S-curve และกลุ่ม New S-curve) เทคโนโลยีดิจิตอล และสาขาที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน

  3. การส่งเสริมให้ภาคเอกชนหรือภาคประกอบการมีส่วนร่วมในการลงทุนในลักษณะ co-funding

    โดยสามารถทำในรูปแบบการใช้โจทย์ศึกษาวิจัยจากภาคเอกชน หรือผู้ประกอบการในการทำโครงงาน/วิจัยของนักศึกษาทุน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ หรือการประยุกต์ใช้งานแบบใหม่ร่วมกันระหว่างภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการและนักศึกษาทุน จากการศึกษาวิจัยสู่ภาคการผลิต และภาคบริการ เป็นการเพิ่มมูลค่าของโครงการ โดยภาคเอกชนหรือภาคผูระกอบการร่วมลงทุนทางการศึกษา

  4. การพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ ในการบ่มเพาะและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย ผ่านกิจกรรมเสริมคุณภาพ

    อาทิ โครงงาน (Project-based learning) การเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการฝึกงาน (Internship/Attachment) จากประสบการณ์จริงของพี่เลี้ยง และภาคผู้ประกอบการ เพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในสายงาน เป็นการสร้างกำลังคนที่มีความรู้และทักษะวิชาชีพ

เกณฑ์การเสนอชื่อผู้รับทุน

สถาบันการศึกษาเป็นผู้เสนอขื่อผู้รับทุน โดยสามารถเสนอชื่อนักศึกษาผู้รับทุนสาขาละไม่เกิน 2 คน สถาบันการศึกษาที่สามารถเสนอชื่อได้ ได้แก่ สถาบันที่มีนักศึกษากำลังศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง/เทียบโอนในปีการศึกษา 2562 ในสาขาที่กำหนด ได้แก่

  1. สาขาที่เป็นเป้าหลักในการพัฒนาประเทศ ได้แก่
    • อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First S-curve)
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
    • อุตสาหกรรมกลุ่มรายได้ดีและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
    • อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
    • อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม
    • อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
    • อุตสาหกรรมดิจิทัล
    • อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
  2. สาขาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (STEM) และเทคโนโลยีดิจิทัล

การสนับสนุน

  1. ทุนการศึกษา (ค่าใช้จ่ายรายเดือน ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าอุปกรณ์การเรียน)
  2. การสนับสนุนการทำโครงงาน/วิจัย
  3. การสนับสนุนวิจัยระยะสั้นในต่างประเทศ (เฉพาะระดับปริญญาโทและปริญญาเอก)
  4. การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ

กำหนดการเปิดสมัคร

รับทุนนี้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 (รอบที่ 1) ขอเชิญชวนนักศึกษาศิษย์เก่าและปัจจุบัน ครูอาจารย์ เสนอชื่อเข้ามารับทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ผ่านเว็บไซต์ www.eef.or.th/ หรือโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-079-5475 กด 4 ตามวันเวลาราชการ

แหล่งข้อมูลทุนการศึกษา